ประวัติความเป็นมา



ความเป็นมาของนาฏศิลป์พื้นเมือง



สังคมชาวบ้านเป็นสังคมเกษตรกรรม อาศัยธรรมชาติเลี้ยงชีพ จึงมีพิธีกรรมและการละเล่นเพื่อขอพรเพื่อให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านมีชีวิตเรียบง่ายสะท้อนออกมาเป็นศิลปะพื้นบ้าน เช่น ภาคเหนือลักษณะการแสดงออกจะเชื่องช้า เปิดเผย ก้าวอย่างเนิบๆ ได้แก่ ฟ้อนต่างๆภาคกลางจะเน้นที่ลำนำ การขับกลอน ภาคอีสานจะมีจังหวะคึกคัก กระฉับกระเฉง แสดงให้เห็นความร่าเริง ส่วนภาคใต้เน้นที่จังหวะเด่นชัด เป็นต้น
วัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นความบันเทิงเกิดขึ้นเพื่อผ่องคลายความเครียดเริ่มจากการใช้ภาษาที่คล้องจองและพัฒนาเป็นเพลงชาวบ้าน ร้องถ่ายทอดกันมา โดยวิธีจำปากต่อปาก มีการร้องรำทำท่าเพลง จึงเกิดเป็นระบำชาวบ้าน และพัฒนาไปสู่การแสดงที่ใช้ลีลาท่ารำ มีดนตรีพื้นบ้านประกอบการแสดง แต่งกายให้งดงามแต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไว้
นาฏศิลป์พื้นบ้านแต่ละภาคจะมีที่มาจากสภาพสังคม ความเชื่อ พิธีกรรม และความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งสภาพสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมเมืองหรือสังคมชนบทย่อมต่างก็ต้องแสวงหาความบันเทิง เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อยใจ เช่นสังคมเกษตรจะมีการเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว มีการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองจึงเกิดขึ้น ส่วนความเชื่อและพิธีกรรมเนื่องจากชาวบ้านมีความเชื่อในเรื่องเคล็ดลาง นับถือภูตผีวิญญาณ จึงเกิดมีบวงสรวงประกอบพิธีกรรม จึงทำให้เกิดนาฏศิลป์พื้นเมือง
ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดนาฏศิลป์พื้นเมืองขึ้นเช่น เมื่อถึงเทศกาลงานบุญซึ่งเป็นประเพณีของชาวบ้าน ก็จะมีการจัดงานบันเทิงเพื่อให้ชาวบ้านมารวมตัวกันเพื่อทำบุญ เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น