การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ เรียกว่า ฟ้อน ภาคเหนือมีกานฟ้อนที่แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฟ้อนแบบดั่งเดิมที่มีช่างฟ้อนเป็นชาวบ้าน ทำหน้าที่สืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมาหลายชั่วอายุคน ลีลาท่าฟ้อนไม่เคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมากนัก เป็นการเลียนแบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์แตกต่างกันไปตามเผ่าพันธุ์และความเชื่อของกลุ่มชนนั้นๆ เช่น ฟ้อนเงี้ยวของไทยใหญ่ ฟ้อนม่านของพม่า ลีลาท่าฟ้อนของชาวพื้นเมืองจะสะท้อนถึงสภาพความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และกลุ่มฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมหลวง ลักษณะลีลาท่าฟ้อน จะมีระเบียบแบบแผน ประณีต งดงาม ถ่ายทอดมาจากราชสำนักสยาม ผู้ฟ้อนเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในจะฟ้อนเฉพาะงานที่สำคัญในเขตพระราชฐาน เช่น การตอนรับแขกบ้าน แขกเมืองในขุมเจ้าหลวง เป็นต้น ในทีนี้จะให้นักเรียนได้ศึกษาพอเป็นพื้นฐานความรู้ 2 ชนิดคือ ฟ้อนเล็บกับฟ้อนเทียน
1.การแสดงชุดฟ้อนเล็บ ฟ้อนเล็บเป็นการฟ้อนของชาวไทยภาคเหนือ อาจายร์ลมุดยมะคุปต์ ได้นำรูปแบบการฟ้อนในคุ้มเข้าดารารัศมีมาถ่ายทอดให้คณะละครหลวงในสมัยรัชกาลที่ 7 ฟ้อนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2470 ในงานสมโภชพระเศวตคชเดชดิลก
2.การแสดงชุดฟ้อนเทียน ฟ้อนเทียนเป็นศิลปะการฟ้อนเช่นเดียวกับการฟ้อนเล็บ การฟ้อนมักจะก้าวเท้าเรียงตามกันช้าๆ ผู้ฟ้อนจะถือเทียนจุดไฟ จึงนิยมใช้ในเวลากลางคืน ความงามของการฟ้อนเทียนอยู่ที่ความพร้อมเพรียง และ ความเป็นระเบียบของผู้แสดง แสงเทียนที่ส่องสว่างวับแวมในยามค่ำคืนทำให้การฟ้อนน่าดูยิ่งนัก
การฟ้อนเทียนเข้าใจว่าแต่เดิมอาจจะใช้เป็นการฟ้อนเพื่อสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่อมาเพื่อได้ถูกปรับปรุงนำมาแสดงประกอบพิธีเฉพาะในงานสำคัญ ๆ ในเขตพระราชฐาน เช่น คุ้มเจ้าหลวง ผู้ฟ้อนโดยมาล้วนเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ในสมัยโบราณ การฟ้อนเทียนครั้งสำคัญที่สุดคือ เมื่อคราวพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดหญิงชาวเหนือให้ฟ้อนถวายรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ.2467 และครูนาฏศิลป์กรมศิลปกรได้รับเอามาฝึกเผยแพร่ต่อ แต่บทร้องที่ใช่ประกอบในการฟ้อนครั้งนั้นมีทั้งบทพระราชนิพนธ์เจ้าดารารัศมี พระราชชายา และบทร้องที่ประพันธ์ขึ้นใหม่โดยอาศัยเค้าของเก่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น